วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไม่มีอะไรที่เรานั้นทำไม่ได้ .... ^____^



เดินขึ้นบันได..กว่าจะถึงขั้นสุดท้าย..ต้องผ่านขั้นแรก

เราต่างมีจุดหมายอยู่ที่ชั้นสองเหมือนกัน 
กว่าจะขึ้นไปได้..ก็ต้องก้าวขึ้นบันไดไปทีละขั้น 
บางคนเรียนลัด..พยายามก้าวทีละสองถึงสามขั้น 
แต่พลัดตกลงมาก็เจ็บ..แถมต้องมารักษาตัวเสียเวลาเข้าไปอีก 
หลายคนมีความฝัน..และก็อยากจับต้องมันได้เร็วๆ ..ไปถึงมันเร็วๆ 
แต่กลับลืมมองว่า..กว่าจะถึงมันได้.. 
เราต้องขึ้นบันไดขั้นที่ 1 2 3 ไปเรื่อยๆ ก่อน 

ฉันเชื่อเสมอว่า..เรามักจะฝันในสิ่งที่ไกลเกินตัว 
และไม่สามารถทำในขณะนั้นได้ 
เราต้องผ่านสนามฝึกฝน..พัฒนาความสามารถของตัวเอง.. 
เพื่อไต่เต้าไปสู่จุดนั้น.. 
ในเมื่อเรามองเห็นชั้นสองอยู่ข้างหน้า.. 
แล้วรู้ว่าบันไดที่จะก้าวจะนำเราไปสู่มัน 
เราก็ต้องเดินขึ้นไป..ทำอะไรที่ไม่อยากทำ..แต่เป็นทางผ่านไปสู่ปลายทาง 
ไม่ต้องกลัวว่า..ขณะเราเดิน..จะทำให้เราเบี่ยงทิศทาง 
ถ้าเรามองเห็นจุดหมายชัดเจน..เราจะเดินไปถึงมัน.. 
จะเป็นเมื่อไหร่นั้น..เดี๋ยวก็รู้ 


ศิลปะไทย ^^




ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้น


เมื่อเราได้สืบค้นความเป็นมาของสังคมไทย พบว่าวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคมหนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทย


ปัจจุบันคำว่า "ศิลปะไทย" กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ


เมื่อเราหันกลับมามองตัวเราเองใหม่ ทำให้ดูห่างไกลเกินกว่าจะกลับมาเรียนรู้ว่า พื้นฐานของชาติบ้านเมืองเดิมเรานั้น มีความเป็นมาหรือมีวัฒนธรรมอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้เราลืมมองอดีตตัวเอง การมีวิถีชีวิตกับสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าเรามีปัจจุบันโดยไม่มีอดีต เราก็จะมีอนาคตที่คลอนแคลนไม่มั่นคง การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยเราชาวศิลปะต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต

ศิลปะ ^^

ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก ความงดงามต่าง ๆ
ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้า
หากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะ
ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะ
ทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงาม เ

ความหมายของเส้น ^^


เส้น หมายถึง รอยขีดเขียนด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่สร้างให้ปรากฎบนพื้นระนาบ หรือการนำจุดมาเรียงต่อกันเป็นจำนวนมากโดยมีความยาวและทิศทาง และยังหมายถึงส่วนขอบรอบนอกของวัสถุอีกด้วย 


ความรู้สึกที่มีต่อเส้น 

เส้นเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสรรค์ เส้นสามารถแสดงให้เกิดความหมายของภาพและให้ความรู้สึกได้ตามลักษณะของเส้น เส้นที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ เส้นตรงและเส้นโค้ง
จากเส้นตรงและเส้นโค้งสามารถนำมาสร้างให้เกิดเป็น เส้นใหม่ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปได้ดังนี้
เส้นตรงแนวตั้ง ให้ความรู้สึกแข็งแรง สูงเด่น สง่างาม น่าเกรงขาม 

เส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ กว้างขวาง การพักผ่อน หยุดนิ่ง 
เส้นตรงแนวเฉียง ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัย การล้ม ไม่หยุดนิ่ง 
เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสานกัน แข็งแรง 
เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนโยนนุ่มนวล 
เส้นคลื่น ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไหลเลื่อน ร่าเริง ต่อเนื่อง 
เส้นประ ให้ความรู้สึกขาดหาย ลึกลับ ไม่สมบรูณ์ แสดงส่วนที่มองไม่เห็น 
เส้นขด ให้ความรู้สึกหมุนเวียนมึนงง 
เส้นหยัก ให้ความรู้สึกขัดแย้ง น่ากลัว ตื่นเต้น แปลกตา 
นักออกแบบนำเอาความรู้สึกที่มีต่อเส้นที่แตกต่างกันมาใช้ในงานศิลปะประยุกต์ โดยใช้เส้นมาเปลี่ยนรูปร่างของตัวอักษร เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวและทำให้สื่อความหมายได้ดียิ่งขึ้น 






องค์ประกอบของศิลป์ เรื่องเส้น ^^


รายชื่อสมาชิกกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

รายชื่อสมาชิกกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

1. นางสาว ชุตินันท์ หอสูติสิมา รหัสนักศึกษา 52191880203
2. นางสาว ปวีณา บุญเสริม       รหัสนักศึกษา 52191880213
3. นางสาว ศิวัชญา ศรีภูมิทอง  รหัสนักศึกษา 52191880226
4. นางสาว เอื้องนภา คิดสม      รหัสนักศึกษา 52191880239
5. นางสาว อรทัย ประกอบดี      รหัสนักศึกษา 52191880240

นักศึกษาโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา หมู่ 2 ค.บ. 5/3